เผยแพร่ผลงานความก้าวหน้าด้านวิชาการ
แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ในสาขาวิชาการด้านดินและปุ๋ย ของภาครัฐ ภาคเอกชนและองค์กรอื่น ๆ
ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการวิจัยด้านดินและปุ๋ย
ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก เพิ่มความสามารถการผลิตและการแข่งขันภาคการเกษตรด้วยนวัตกรรม และมีการบริหารจัดทรัพยากรดินอย่างสมดุลและยั่งยืน
เสริมสร้างเครือข่ายวิจัยด้านดินและปุ๋ยให้เข้มแข็ง
เปิดโอกาสให้นักวิจัยอาวุโส นักวิจัยรุ่นใหม่ ผู้ประกอบการด้านดินและปุ๋ย และเกษตรกรได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
Tokenizing abstract
สร้างจากข้อมูล 8,583 คำ จากบทคัดย่อกว่า 12,000 คำ
ดำเนินงานร่วมกับสมาคมดินเเละปุ๋ยเเห่งประเทศไทย
การประชุมทางวิชาการดินและปุ๋ยแห่งชาติ ครั้งที่ 8
The 8th National Soil and Fertilizer Conference Soil, the Beginning of Food Security and Sustainability (NSFC8th)
เกี่ยวกับ NSFC8th
ปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการเกษตรของประเทศไทย คือ ทรัพยากรดิน ที่เป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการผลิตอาหาร พืชพลังงานทดแทน และวัตถุดิบอุตสาหกรรมทางการเกษตร ซึ่งมีบทบาทหลักต่อการเสริมสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยทางอาหารอย่างยั่งยืนของประเทศ ท่ามกลางกระแสโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การพัฒนาเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าและเป็นไปแบบก้าวกระโดด ขณะที่ประเทศมีแนวโน้มปัญหาการขาดแคลนทรัพยากร ดินเสื่อมโทรม ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ น้ำท่วมและฝนแล้ง มีความถี่และรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ปัญหาขาดแรงงานภาคการเกษตร เกษตรกรยากจนและไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ตลอดจนราคาผลผลิตไม่แน่นอน ทำให้ต้นทุนการผลิตภาคการเกษตรสูง การแก้ไขปัญหาดังกล่าว จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม การมุ่งไปสู่การเกษตรที่มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในระบบการผลิตที่มีมาตรฐานปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างมูลค่าเพิ่ม และลดปัจจัยต้นทุนการผลิตทางการเกษตร ลดสิ่งเหลือใช้และขยะ ใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันต้องส่งเสริมเกษตรกรให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร นำความรู้มาใช้ในการบริหารจัดการฟาร์มได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างรายได้เพิ่มขึ้น
การพัฒนาการเกษตรของประเทศ จะสำเร็จได้นอกจากภาครัฐจะให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการวิจัยด้านต่าง ๆ อย่างจริงจังแล้ว ยังต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชนโดยเฉพาะหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐ ได้แก่ มหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนด้านการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร ตลอดจนแหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยและองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย ดังนั้นจึงได้มีการจัดประชุมวิชาการดินและปุ๋ยแห่งชาติตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2552 และเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิชาการจากสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรอื่น ๆ ทั่วประเทศ ใช้เป็นเวทีเผยแพร่ผลงานวิจัย แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นและประสบการณ์ในสาขาวิชาด้านดินและปุ๋ย ส่งเสริมการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพ รวมทั้งเป็นเวทีอภิปรายเสวนา สร้างความรู้และความเข้าใจถึงแนวทางการขับเคลื่อนนวัตกรรมด้านดินและปุ๋ย สร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร เพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ส่งเสริมการปรับตัวและสร้างภูมิคุ้มกันภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก และมีการบริหารจัดการทรัพยากรดินที่มีความสมดุลและยั่งยืน
สำหรับการประชุมวิชาการดินและปุ๋ยแห่งชาติครั้งที่ 8 นี้ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นเจ้าภาพจัดร่วมกับสมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๑๑-๑๒ กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์แสดงนิทรรศการและการจัดประชุมสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
จากความสำคัญดังกล่าว
คณะกรรมการจัดการประชุมครั้งนี้ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการฟื้นฟู "ทรัพยากรดิน" ให้เป็นปัจจัยพื้นฐานที่มีคุณภาพเหมาะสมต่อการเกษตร ที่จะส่งผลดีต่อความกินดีอยู่ดีของมนุษย์ จึงกำหนดหัวข้อหลัก (Theme) ของการประชุมครั้งนี้ว่า “ฟื้นชีวิตดินเพื่อเกษตรและสิ่งแวดล้อม” (Soil regeneration for agriculture and environment)
ประเด็นสำหรับผู้ส่งผลงานวิชาการ
เคมีและความอุดมสมบูรณ์ของดิน
สำรวจ จำแนกดิน และสารสนเทศ
เทคโนโลยีชีวภาพและจุลินทรีย์ดิน
สิ่งแวดล้อมดิน การเก็บกักคาร์บอนและนิเวศบริการ
ประเภทบุคคล | อัตราพิเศษ (ภายใน 30 มิถุนายน 2567) | อัตราปกติ (1 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป) |
---|---|---|
กรณีนำเสนอผลงาน | ||
นักศึกษา | 1,000 บาท | 1,500 บาท |
สมาชิกสมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย | 2,200 บาท | 2,500 บาท |
บุคคลทั่วไป | 2,500 บาท | 3,000 บาท |
กรณีไม่เสนอผลงาน | ||
นักศึกษา | 500 บาท | 800 บาท |
สมาชิกสมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย | 1,500 บาท | 2,000 บาท |
บุคคลทั่วไป | 2,000 บาท | 2,500 บาท |
หมายเหตุ: ค่าลงทะเบียน ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าที่พัก (ผู้เข้าร่วมประชุมรับผิดชอบเอง) และคณะกรรมการฯขอสงวนสิทธิ์ไม่จ่ายเงินคืนไม่ว่ากรณีใดๆ
กำหนดการงานประชุมวิชาการ
วันที่ 11-12 กรกฎาคม พ.ศ.2567 โดยผู้จัดงานจะแจ้งกำหนดการนำเสนอและลำดับนำเสนอแก่ผู้นำเสนอในภายหลัง
การลงทะเบียนเข้าร่วมงานประชุม
ท่านที่สนใจเข้าร่วมงานประชุมทั้งนำเสนอผลงานต้องลงทะเบียนผ่านระบบลงทะเบียนของงานประชุม
- ลงทะเบียนนำเสนอผลงาน
- ผู้นำเสนอผลงานสามารถลงทะเบียนพร้อมส่งบทความฉบับเต็ม (Full paper) ตั้งเเต่บัดนี้ ถึง 15 พฤษภาคม 2567 (ขยายเวลารับ บทความฉบับเต็ม ครั้งสุดท้าย !!)
- ผู้นำเสนอผลงานสามารถลงทะเบียนพร้อมส่งบทคัดย่อ (Abstract) ตั้งเเต่บัดนี้ ถึง 16 มิถุนายน 2567 (ขยายเวลารับ บทคัดย่อ ครั้งสุดท้าย !!)
ประกาศผลการพิจารณาบทคัดย่อจากผู้ทรงคุณวุฒิ
ส่งบทความฉบับเต็ม
ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 (ขยายเวลารับบทความฉบับเต็มครั้งสุดท้าย)
พบกัน ในวันที่ 11-12 กรกฎาคม 2567
ณ อาคารศูนย์แสดงนิทรรศการและการจัดประชุมนานาชาติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือ KNECC
มหาวิทยาลัยนเรศวร
กำหนดการในวันงานส่งผลงานที่ผ่านการเเก้ไขตามคำเเนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ
บทความฉบับเต็มก่อนวันที่ 30 มิถุนายน 2567
ประกาศผลการตอบรับบทความฉบับสมบูรณ์
วันที่ 1 กรกฎาคม 2567
ชำระค่าลงทะเบียนนำเสนอผลงาน
ชำระค่าลงทะเบียนให้โอนเงินเข้าบัญชี
ธนาคารกรุงศรี สาขามหาวิทยาลัยนเรศวร
ชื่อบัญชี : การประชุมทางวิชาการดินและปุ๋ยแห่งชาติ ครั้งที่ 8
เลขที่บัญชี : 346-1-67974-7
เมื่อชำระเงินเสร็จสิ้นสามารถเเจ้งสลิปการโอนเงินได้ผ่านการ login เข้าสู่ระบบโดยใช้ username เเละ password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้ ผ่านเมนู "เข้าสู่ระบบ" ทางด้านบน
ติดต่อเรา
คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร เเละ ภาควิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ที่ตั้ง:
มหาวิทยาลัยนเรศวร 99 ม.9 ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000
Email:
8nsfc2024@gmail.com
โทรศัพท์:
081-973-4024 (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วภากร ศิริวงค์)
081-926-5288 (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิภา หอมหวล)
โทรสาร:
0-5596-2704